ขั้นตอนการ ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ทำออนไลน์ได้ง่ายๆ

0
6751
ต่อพรบรถยนต์ออนไลน์

พ.ร.บ. รถยนต์ หรือ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติมรวมกฎกระทรวง ประกาศกระทรวง เป็นประกันภัยพื้นฐานภาคบังคับที่ผู้มีกรรมสิทธิ์ครอบครองรถทุกประเภทต้องมีไว้เพื่อใช้เป็นประกันความเสียหายของผู้ได้รับบาดเจ็บจากรถ ซึ่งการคุ้มครองของ พ.ร.บ. รถยนต์ (ใส่ลิงค์ไปบทความ พรบ รถยนต์ ให้ด้วย)ครอบคลุมไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องในการประสบอุบัติเหตุจากรถยนต์ ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ที่ครอบครองรถยนต์มักทำประกันอื่น ๆ ควบคู่ไปกับการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ในทุกทุกปี เพื่อให้ได้สิทธิ์การคุ้มครองความเสียหายจากอุบัติเหตุที่ไม่คาดฝันด้วยเกราะป้องกันที่แน่นหนา

ขั้นตอนในการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์

ในการต่อ พ.ร.บ. ที่สำนักงานขนส่งจังหวัดควรเตรียมเอกสารสำคัญ คือ

  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • สำเนาบัตรประชาชน
  • เล่มทะเบียนรถยนต์หรือสำเนา อย่างละ 1 ฉบับ

ติดต่อที่สำนักงานขนส่งจังหวัด แต่สำหรับเจ้าของรถยนต์ที่ไม่มีเวลาในการต่ออายุ พ.ร.บ. รถยนต์ด้วยตัวเองหรืออยู่หากจากสำนักงานขนส่งจังหวัด สามารถขอต่ออายุ พ.ร.บ. รถยนต์ผ่านทางช่องทาง ดังต่อไปนี้

ขั้นตอนการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ออนไลน์

การต่อ พ.ร.บ. ออนไลน์จะสามารถทำได้เฉพาะรถยนต์ที่มีอายุไม่เกิน 7 ปี เท่านั้น เนื่องจากรถยนต์ที่มีอายุเกินกว่า 7 ปี ต้องมีการตรวจสภาพรถยนต์เป็นประจำทุกปีเพื่อเป็นการป้องกันอุบัติเหตุเบื้องต้นจากความขัดข้องของรถยนต์

  1. เข้าเว็บไซต์ของกรมขนส่งทางบก คลิ้ก
  2. เข้าสู่ระบบด้วยรหัสบัตรประชาชน 13 หลัก พร้อมรหัสผ่าน หรือสมัครสมาชิก
    ต่อพรบรถยนต์ออนไลน์-2
  3. ที่ส่วน “บริการ” เลือกหัวข้อชำระภาษีรถประจำปี > ชำระภาษีรถยนต์ประจำปีผ่านอินเตอร์เน็ต
    ต่อพรบรถยนต์ออนไลน์-3
  4. กรอกข้อมูลสำคัญ เช่น ประเภทรถยนต์, เลขทะเบียนรถยนต์, เลขรถและสีรถยนต์ เป็นต้น
    ต่อพรบรถยนต์ออนไลน์-4
  5. ชำระค่าบริการและรอรับ พ.ร.บ. รถยนต์ ฉบับใหม่ได้ทางไปรษณีย์

การต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ผ่านตัวแทนประกัน

สำหรับผู้ที่ทำประกันรถยนต์กับบริษัทเอกชนสามารถแจ้งให้กับตัวแทนประกันดำเนินการให้พร้อมกับการต่อประกันรถยนต์และชำระค่าใช้จ่าย จากนั้นรอรับพรบ.รถยนต์และกรมธรรม์ฉบับใหม่

การต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ผ่านจุดให้บริการอื่น ๆ

ต่อพรบผ่านเซเว่น
www.7eleven.co.th/service/lifestyle/232-ต่อทะเบียนรถ-หรือ-ซื้อ-พ.ร.บ.-รับได้ทันที!

สำนักงานไปรษณีย์ ห้างสรรพสินค้าที่เข้าร่วมโครงการช้อปให้พอ แล้วต่อภาษี, ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรและเคาว์เตอร์เซอร์วิสของกรมขนส่งทางบก สถานที่เหล่านี้เป็นวิธีต่อ พ.ร.บ. ที่น้อยคนที่ทราบ การต่อ พ.ร.บ. ผ่านจุดบริการอื่น ๆ สามารถทำได้เพียงแต่ต้องเตรียมใบรับรองการตรวจสภาพรถยนต์สำหรับรถยนต์ที่มีอายุเกิน 7 ปีและต้องเป็นรถยนต์ที่ไม่มีภาษีค้างชำระเกิน 1 ปีเท่านั้น 

ค่าเบี้ยประกันภัยรวมค่าบริการในการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์

สำหรับค่าใช้จ่ายในการต่อ พ.ร.บ. รถแต่ละกันก็มีราคาแตกต่างกันไปเพราะมีค่าเบี้ยประกันภัยรวมกับค่าบริการที่เรียกเก็บ ทั้งนี้ราคาเบี้ยประกันรถยนต์ส่วนบุคคลที่กรมขนส่งกำหนดไว้ มีดังนี้ 

ประเภทรถยนต์โดยสารส่วนบุคคล ค่าเบี้ยประกัน บาท / ปี
รถยนต์โดยสารไม่เกิน 7 ที่นั่ง 600 บาท/ปี
รถยนต์โดยสารไม่เกิน 15 ที่นั่ง 1,500 บาท/ปี
รถยนต์โดยสารไม่เกิน 20 ที่นั่ง 2,050 บาท/ปี
รถยนต์โดยสารไม่เกิน 40 ที่นั่ง 3,200 บาท/ปี
รถยนต์โดยสารเกิน 40 ที่นั่ง ขึ้นไป 3,740 บาท/ปี

ความคุ้มครองเบื้องต้นที่พรบ.รถยนต์ให้การคุ้มครอง

ขั้นตอนในการขอรับค่าเสียหายต้องยื่นคำร้องภายใน 180 วัน ผ่านตัวแทนประกันที่ทำควบคู่กับ พ.ร.บ. รถยนต์ หรือแจ้งให้สถานพยาบาลทราบ หรือหากอุบัติเหตุทางรถยนต์นั้นร้ายแรงและมีผู้เสียชีวิต ญาติสนิทของผู้ประสบภัยต้องนำใบสำเนาใบมรณบัตร, สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาบันทึกประจำวันยื่นให้

อุบัติเหตุนั้นมีผู้ได้รับบาดเจ็บ

สามารถใช้เป็นค่ารักษาพยาบาลได้ทันทีไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นฝ่ายผิดหรือถูกสูงสุดไม่เกินสามหมื่นบาทต่อคนและได้รับค่าชดเชยค่ารักษาพยาบาลกรณีที่มีผู้ได้รับบาดเจ็บร้ายแรงถึงขั้นสูญเสียอวัยวะ สูญเสียสติหรือทุพพลภาพถาวร พ.ร.บ. รถยนต์จะให้การคุ้มครองเบื้องต้นสามหมื่นห้าพันบาทต่อคน

ทั้งค่ารักษาพยาบาลและค่าชดเชยค่ารักษาพยาบาลรวมกันแล้วต้องไม่เกินกว่าหกหมื่นห้าพันบาทต่อบุคคล

อุบัติเหตุนั้นมีผู้เสียชีวิต

พ.ร.บ. รถยนต์ใช้ชดเชยเป็นค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่จำเป็นเป็นจำนวนเงินสามหมื่นห้าพันบาทต่อคน

การต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ไม่ใช่เรื่องยุ่งยากและยังให้การคุ้มครองผู้ประสบภัยและบรรเทาเสียหายเมื่อเกิดอุบัติเหตุไม่คาดฝัน ซึ่งหากเทียบค่าใช้จ่ายในการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ราคาถูกกับการเสียค่าใช้จ่ายในโทษปรับถือว่าน้อยมากและยังเป็นการทำประโยชน์ต่อผู้ที่ใช้ถนนร่วมกันด้วย