พ.ร.บ. รถยนต์ คืออะไร สำคัญแค่ไหน คุ้มครองอะไรคุณบ้าง

0
1923
พรบรถยนต์คืออะไร

หากพิจารณาถึงพาหนะที่มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิต “รถยนต์” ถือว่าเป็นพาหนะที่เหมาะกับสภาพอากาศ ปัญหาฝุ่นผง มลพิษ ที่เกิดขึ้นในในปัจจุบัน เมื่อตัดสินใจซื้อรถยนต์แล้ว เราจะได้รับ พ.ร.บ. รถยนต์ พร้อมกับรถคันโปรดในทันที ซึ่งหลายคนมักมีคำถามเกี่ยวกับ พ.ร.บ. อยู่เสมอ ดังนั้นในบทความนี้ เราจึงจะมาแนะนำข้อมูลน่ารู้ ที่หลายคนมักตั้งคำถามเกี่ยวกับ พ.ร.บ. รถยนต์

พ.ร.บ. รถยนต์ คืออะไร

พ.ร.บ. รถยนต์ หรือ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 เป็นการคุ้มครองภาคบังคับที่เจ้าของยานพาหนะทุกประเภทต้องทำ และหากผู้ใดไม่ต่อ พ.ร.บ. ถือได้ว่าเป็นความผิดทางกฎหมาย

พ.ร.บ. รถยนต์ ให้ความคุ้มครองอะไรบ้าง

การทำ พ.ร.บ. รถยนต์ คุ้มครองอะไรบ้าง ? จุดประสงค์หลักที่มีเอาไว้เพื่อให้การคุ้มครองกับผู้ที่ประสบเหตุทางรถ โดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ได้กำหนดวงเงินในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยเอาไว้อย่างชัดเจนทั้งคู่กรณีและผู้ประสบเหตุ ดังนี้

  • กรณียังไม่ทราบว่าฝ่ายใดผิด แต่อุบัติเหตุนั้นทำให้มีผู้บาดเจ็บ มีค่ารักษาพยาบาลวงเงินสูงสุด 30,000 บาท ในกรณีที่ไม่ได้รับบาดเจ็บจนเป็นเหตุให้พิการ แต่หากอุบัติเหตุร้ายแรงถึงขั้นพิการหรือเสียชีวิต จะให้การคุ้มครองในวงเงินสูงสุดไม่เกิน 35,000 บาทต่อคน นอกจากนี้หากอุบัติเหตุสร้างความเสียหายทั้งสองกรณี จะมีค่ารักษาพยาบาลในวงเงินสูงสุดไม่เกิน 65,000 บาท
  • กรณีทราบว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิด ผู้เสียหายจะได้รับการชดเชยค่ารักษาพยาบาลที่สูงขึ้น โดยมีวงเงินเริ่มต้น 80,000 บาท แต่หากมีการสูญเสียอวัยวะหรือเสียชีวิต จะให้การคุ้มครองวงเงินสูงสุดถึง 300,000 บาทต่อคน

ถ้าไปชนคนอื่นได้รับบาดเจ็บ ก็จะถูกกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลที่กองทุนฯ ได้สำรองจ่ายแทนไปก่อน และยังบวกเพิ่มอีกร้อยละ 20 ด้วย

รถยนต์ที่ไม่มี พ.ร.บ. มีความผิดอะไรบ้าง

พรบไม่คุ้มครอง

โดยปกติแล้วการต่อ พ.ร.บ. จะต้องทำทุกปีพร้อมกับการต่อภาษีและทะเบียนรถ ซึ่งหากไม่ต่อก็จะไม่สามารถต่อภาษีและทะเบียนรถได้ สำหรับบทลงโทษของผู้ที่ไม่ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์จะต้องเสียค่าปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท และหากไม่ต่อภาษีรถยนต์ด้วยจะต้องเสียภาษีย้อนหลังบวกกับค่าปรับภาษีเดือนละ 1% นอกจากประโยชน์ในการคุ้มครองความสูญเสียของชีวิตและทรัพย์สินแล้ว ยังสามารถใช้เป็นหลักประกันในการขอรับการรักษายังสถานพยาบาลเมื่อเกิดอุบัติเหตุด้วย

  • ถ้าตรวจพบแล้วไม่ต่อ พ.ร.บ. ปรับเงินได้ไม่เกิน 10,000 บาท
  • ต่อ พ.ร.บ. แล้วแต่ไม่ติดแสดงอย่างชัดเจน มีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

วิธีในการเบิกค่าสินไหมจาก พ.ร.บ. รถยนต์

แนะนำ 6 วิธีเก็บเงินให้อยู่ บอกเลยว่างานนี้ทำได้ทุกคน แถมเห็นผลทันตา

ในกรณีที่มีอุบัติเหตุรถยนต์เกิดขึ้นและมีผู้บาดเจ็บ ให้รีบนำตัวผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ส่งสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุด จากนั้นแจ้งให้บริษัทประกันภัยของตนเองหรือคู่กรณีทราบ ทั้งนี้หากรถไม่มีประกันคุ้มครอง แต่มี พ.ร.บ. ก็สามารถแจ้งกับสถานพยาบาลเพื่อให้สถานพยาบาลดำเนินเรื่องต่อให้ได้ ทั้งนี้การขอค่าสินไหมสามารถร้องขอค่าชดเชยได้ภายใน 3 เดือนหลังจากเกิดเหตุ ผู้เสียหายต้องนำเอกสารดังนี้ยื่นให้กับบริษัทประกันภัยหรือสำนักงานประกันภัยจังหวัด ทุกจังหวัด

  • บัตรประชาชน
  • ใบรับรองแพทย์
  • หลักฐานการเกิดอุบัติเหตุและใบเสร็จ


แม้ว่าเจ้าของรถยนต์หลายคนจะทราบถึงประโยชน์ของการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ คุ้มครองอะไรบ้าง ช่วยบรรเทาความเสียหายสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินให้กับผู้ประสบเหตุหรือครอบครัวของผู้ที่ประสบอุบัติเหตุ รวมถึงเป็นภาคบังคับตามกฎหมาย แต่ก็ยังมีคนจำนวนไม่น้อยที่ไม่มีเวลามากพอที่จะเดินทางไปต่อ พ.ร.บ. เนื่องจากไลฟ์สไตล์ของคนในยุคปัจจุบันที่ต้องทำงานแข่งกับเวลาจนปล่อยให้ขาด เมื่อเกิดเหตุจึงไม่มีค่ารักษาพยาบาลเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน

ด้วยเหตุนี้ทำให้ กรมการขนส่งทางบก ได้พัฒนาระบบออนไลน์ให้เจ้าของรถทั่วประเทศสามารถต่อ พ.ร.บ. เอง (เดี๋ยวเอาลิงค์จากบทความ วิธีต่อ พรบ มาแปะลิงค์ให้หน่อย) ได้ ด้วยการกรอกข้อมูลที่บ้านผ่านทางหน้าเว็บไซต์ของกรมขนส่ง เมื่อกรอกข้อมูลตามที่กำหนดในหน้าเว็บไซต์เรียบร้อย ระบบจะแจ้งค่าใช้จ่ายให้เราทราบและปริ้นท์ใบแจ้งหนี้เพื่อนำไปชำระผ่านทางธนาคาร หรือหักค่าใช้จ่ายจากบัตรเครดิต หรือชำระผ่าน Internet Banking ของธนาคารต่าง ๆ ซึ่งหลังจากยืนยันการชำระเงินเรียบร้อยแล้ว กรมการขนส่งฯ จะจัดส่ง พ.ร.บ.ใหม่ให้ทางไปรษณีย์

พ.ร.บ. รถยนต์ แตกต่างจากประกันรถยนต์อย่างไร

การต่อประกันรถยนต์

ทั้งนี้แม้ว่า พ.ร.บ. รถยนต์ จะให้การคุ้มครองผู้ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ในวงเงินค่ารักษาพยาบาลที่สูงอยู่แล้ว แต่โดยส่วนใหญ่ เจ้าของรถยนต์มักจะเลือกทำประกันรถยนต์ควบคู่ไปกับพ.ร.บ. ด้วย เพื่อให้ได้การคุ้มครองครอบคลุมไปยังค่าซ่อมแซมรถยนต์ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุด้วย โดยประเภทของประกันแต่ละแบบจะมีความแตกต่างกันเล็กน้อย ดังนี้

  • ประกันชั้น 1 ให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลของบุคคลภายในรถยนต์ที่มีประกันรวมไปถึงบุคคลภายนอกและยังคุ้มครองความเสียหายที่เกิดกับรถยนต์จากอุบัติเหตุ การถูกขโมยและเหตุเพลิงไหม้
  • ประกันชั้น 2 ความแตกต่างกันระหว่างประกันชั้น 1 และชั้น 2 มีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น คือ ประกันชั้น 2 จะคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลให้ทั้งสองฝ่าย แต่คุ้มครองความเสียหายของทรัพย์สินให้เฉพาะคู่กรณีเท่านั้น 
  • ประกันชั้น 3 มีลักษณะเหมือนกับประกันชั้น 2 แต่จะไม่ให้การคุ้มครองการสูญเสียทรัพย์สินจากเหตุเพลิงไหม้
  • ประกันแบบ 2+ และประกันแบบ 3+ จะเหมือนกับประกันชั้น 2 และ 3 ตามลำดับ แต่มีความคุ้มครองทรัพย์สินให้กับรถยนต์คันที่เอาประกันด้วย

ค่าใช้จ่ายของประกันชั้น 1 สูงมาก ทำให้หลายคนจึงมักเปลี่ยนประเภทของประกันเมื่อประกันชั้น 1 หมดลง การทำประกันแบบ 2+ หรือ 3+ ควบคู่กับการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ก็เพียงพอต่อการคุ้มครองชีวิตและทรัพย์สินที่อาจสูญเสียจากอุบัติเหตุ ซึ่งผู้ที่สนใจทำประกันควบคู่ไปกับการต่อ พ.ร.บ. ก็สามารถทำได้ง่าย ๆ โดยการติดต่อตัวแทนประกันรถยนต์ แม้ว่าค่าใช้จ่ายในการต่อ พ.ร.บ. กับตัวแทนประกันรถยนต์ จะมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าการต่อ พ.ร.บ. ด้วยตัวเองที่กรมการขนส่งฯ หรือเว็บไซต์ของกรมการขนส่งฯ แต่การบริการนี้ก็ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ที่ไม่มีเวลาแต่ต้องการได้รับการคุ้มครองที่ดีที่สุด

การต่อ พ.ร.บ. เป็นการคุ้มครองที่ช่วยชดเชยค่าเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ให้กับผู้ประสบเหตุและครอบครัว ดังนั้นจึงห้ามขาดการต่อ พรบ. รถยนต์ ประจำปี เพื่อความคุ้มครองที่ดีที่สุดทั้งต่อตัวคุณเองและผู้ร่วมทางสัญจรทุกคน