ทุก ๆ ปี จะมีเจ้าของรถยนต์หลายท่านที่ต้องไปดำเนินการเสียภาษีหรือต่อทะเบียนรถ ซึ่งบางคนอาจยังไม่ทราบอัตราภาษีที่ตนเองต้องชำระต่อกรมขนส่ง วันนี้เราเลยเอาข้อมูลเด็ด ๆ มาฝากให้คุณได้ทราบ ถ้าอยากรู้แล้วว่าต่อทะเบียนรถยนต์ราคา เท่าไหร่แล้วต้องใช้เอกสารในการชำระภาษีนี้เท่าไหร่บ้าง เรามาหาคำตอบไปพร้อม ๆ กันดีกว่า
Contents
วิธีคำนวณภาษีรถยนต์ด้วยตัวเอง
ขั้นตอน การคำนวณภาษีของรถยนต์จะมีการคำนวณ 2 ขั้นตอน โดย
- คำนวณจากผลรวมของเครื่องยนต์ ที่ไม่เกิน 600 cc
- คำนวณจากผลรวมของเครื่องยนต์ นับจาก 600 cc ขึ้นไป
ตัวอย่าง รถยนต์ไม่เกิน 7 ที่นั่ง โดยมีอายุการใช้งาน 3 ปี และมีขนาดเครื่องยนต์ 1,500 cc
เราจะเห็นได้ว่ารถยนต์คันนี้จัดอยู่ในประเภทเราจะเห็นได้ว่ารถยนต์คันนี้จัดอยู่ในประเภทรถยนต์ขนาด 600 cc แรก คิดราคา cc ละ 0.50 บาท โดยมีวิธีคำนวณคือ 600 x 0.5 = 300 บาท ต่อไปจะถูกคิดในอัตรารถยนต์ขนาด 601 – 1,800 cc คิดราคา cc ละ 1.50 บาท โดยคำนวณจาก cc ที่ 601-1500 เป็น cc ละ 1.50 บาทฉะนั้นจะต้องนำ cc ที่ 1,500 มาลบกับ cc ที่ 600 จะได้ 1,500 – 600 = 899 แล้วนำเอา 899 มาคูณกับอัตราภาษีที่ต้องเสีย จะได้ 899 x 1.50 = 1,348.50 บาท
หลังจากที่ได้อัตราภาษีทั้ง 2 จำนวนแล้ว ให้คุณนำเอาผลลัพธ์ทั้งหมดมารวมกันจะได้ 300 บาท + 1,348.50 บาท รวมเป็นเงินที่จะต้องเสียภาษีทั้งหมดคือ 1,648.50 บาท
ราคาต่อทะเบียนรถยนต์ สำหรับรถยนต์ส่วนบุคคลทั่วไป
(หรือรถยนต์ที่มีป้ายทะเบียนพื้นขาว ตัวหนังสือบนทะเบียนดำ)

สำหรับการคำนวณอัตราค่าภาษีรถยนต์นั้นจะคิดจากขนาดของเครื่องยนต์หรือปริมาณซีซี (cc) ของรถยนต์คันนั้นๆ หากรถยนต์ที่คุณใช้อยู่ใช้มีขนาดเครื่องยนต์เล็กก็จะเสียอัตราภาษีที่ต่ำ แต่หากรถยนต์ที่คุณใช้มีขนาดเครื่องยนต์ใหญ่ก็จะทำให้คุณยิ่งเสียอัตราภาษีที่สูงขึ้น ซึ่งรถยนต์ส่วนบุคคลที่มีที่นั่งไม่เกิน 7 ที่นั่ง จะถูกคิดอัตราภาษีดังต่อไปนี้
- รถยนต์ขนาด 600 cc แรก คิดราคา cc ละ 0.50 บาท
- รถยนต์ขนาด 601 – 1,800 cc คิดราคา cc ละ 1.50 บาท
- รถยนต์ขนาด เกิน 1,800 cc คิดราคา cc ละ 4.00 บาท
ราคาต่อทะเบียนรถยนต์ สำหรับรถบรรทุกส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง
(หรือรถยนต์ที่มีป้ายทะเบียนพื้นขาว ตัวหนังสือบนป้ายทะเบียนสีเขียว)

หากคุณเป็นคนขับรถที่มีขนาดใหญ่โดยเป็นรถยนต์ 7 ที่นั่ง เช่น รถบรรทุก รถกระบะ นั้นจะมีอัตราภาษีที่แตกต่างจากรถยนต์ประเภทรถเก๋ง เพราะมีขนาดรถยนต์ที่มีเครื่องยนต์ขนาดใหญ่กว่านั่นเอง โดยคิดแตกต่างจากรถยนต์ประเภทแรกด้วยการเสียภาษีจากน้ำหนักของรถยนต์ ซึ่งอัตราภาษีที่คุณต้องเสียมีดังต่อไปนี้
- น้ำหนักรถยนต์ที่มีขนาด 501- 750 กิโลกรัม จะเสียในอัตราภาษี 450 บาท
- น้ำหนักรถยนต์ที่มีขนาด 751 – 1,000 กิโลกรัม จะเสียในอัตราภาษี 600 บาท
- น้ำหนักรถยนต์ที่มีขนาด 1,001 – 1,250 กิโลกรัม จะเสียในอัตราภาษี 750 บาท
- น้ำหนักรถยนต์ที่มีขนาด 1,251 – 1,500 กิโลกรัม จะเสียในอัตราภาษี 900 บาท
- น้ำหนักรถยนต์ที่มีขนาด 1,501 – 1,750 กิโลกรัม จะเสียในอัตราภาษี 1,050 บาท
- น้ำหนักรถยนต์ที่มีขนาด 1,751 – 2,000 กิโลกรัม จะเสียในอัตราภาษี 1,350 บาท
- น้ำหนักรถยนต์ที่มีขนาด 2,001 – 2,500 กิโลกรัม จะเสียในอัตราภาษี 1,650 บาท
ราคาต่อทะเบียนรถยนต์ สำหรับรถยนต์ส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง
(หรือรถยนต์ที่มีป้ายทะเบียนพื้นขาว ตัวหนังสือบนป้ายทะเบียนสีน้ำเงิน)

มีรถยนต์อีกประเภทที่มีอัตราการเสียภาษีที่แตกต่างกันไป ซึ่งรถยนต์ส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง ที่ใช้ในการรับส่งผู้โดยสารจำนวนมาก เช่น รถตู้ นั้นจะมีวิธีคิดภาษีรถยนต์ตามน้ำหนักเช่นเดียวกับรถกระบะและรถบรรทุกแต่เป็นอัตราภาษีที่เสียต่างกันดังต่อไปนี้
- น้ำหนักรถยนต์ที่มีขนาดไม่เกิน 1,800 กิโลกรัม จะเสียในอัตราภาษี 1,300 บาท
- น้ำหนักรถยนต์ที่มีขนาดเกิน 1,800 กิโลกรัม จะเสียในอัตราภาษี 1,600 บาท
การนำอัตราภาษีที่เสียในการต่อทะเบียนรถไปลดหย่อนภาษี
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่เสียภาษีจากการต่อทะเบียนรถยนต์ของตัวเองมาโดยตลอด คุณสามารถนำหลักฐานการเสียภาษีนั้นมาเป็นการลดหย่อนภาษีได้ ซึ่งการจะลดหย่อนภาษีได้นั้นรถยนต์ของคุณจะต้องมีอายุการใช้งาน 6 ปีขึ้นไป ซึ่งการลดหย่อนนั้นจะเป็นลักษณะของส่วนลดในการเสียภาษีที่กรมขนส่งในแต่ละรอบนั่นเอง
- อายุการใช้งานเกิน 6 ปี ได้รับส่วนลดค่าภาษี 10%
- อายุการใช้งานเกิน 7 ปี ได้รับส่วนลดค่าภาษี 20%
- อายุการใช้งานเกิน 8 ปี ได้รับส่วนลดค่าภาษี 30%
- อายุการใช้งานเกิน 9 ปี ได้รับส่วนลดค่าภาษี 40%
- อายุการใช้งานเกิน 10 ปีขึ้นไป ได้รับส่วนลดค่าภาษี 50%
เอกสารในการต่อภาษีรถยนต์
- พ.ร.บ. รถยนต์ ที่ยังไม่หมดอายุ (โดยจะต้องเหลือวันหมดอายุมากกว่า 90 วัน ขึ้นไป)
- สมุดคู่มือจดทะเบียนหรือเล่มทะเบียนรถยนต์ โดนสามารถใช้เป็นสำเนารายการจดทะเบียนรถยนต์ได้
- สำหรับรถยนต์ที่มีอายุการใช้งานเกิน 7 ปีหรือเป็นรถยนต์ที่มีการติดตั้งแก๊สจะต้องมีใบตรวจสภาพรถยนต์มาใช้ในการต่อภาษีรถด้วยเช่นกัน
เราจะเห็นได้ว่าอัตราการเสียภาษีของรถยนต์แต่ละประเภทนั้นมีความแตกต่างกัน โดยขึ้นอยู่กับน้ำหนักของรถและอายุการใช้งานของรถด้วยเช่นกัน หากคุณเป็นเจ้าของรถยนต์คนหนึ่งที่ต้องชำระภาษีต่อทะเบียนรถยนต์แล้ว อย่าลืมศึกษาข้อบังคับและการเปลี่ยนแปลงข้อมูลในการชำระภาษีจากกรมขนส่งให้ดีเพื่อไม่ให้การไปชำระภาษีแต่ละครั้งผิดพลาดด้วยนะ