อัพเดท กฎหมายจราจร ปี 2563 ฉบับเข้าใจง่าย

0
3222
กฎหมายจราจรปี-2563

ในปี 2563 กรมการขนส่งทางบกได้มีการร่วมมือกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติเริ่มบังคับใช้กฎหมายใหม่ ซึ่งออกตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฉบับ ปี 2562 เพื่อควบคุมและลดพฤติกรรมความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุจากการขับรถว่าด้วยระบบบันทึกคะแนนความประพฤติในการขับรถ นอกจากจะเป็นกฏหมายบังคับใช้ใหม่แล้ว บริษัทประกันภัยรถยนต์เองก็ต้องดูระเบียบและมาตรการจากภาครัฐเพื่อปรับใช้กับลูกค้าด้วย มาดูกันว่ามีกฎหมายจราจร อะไรกันบ้างที่เพิ่มเติมเข้ามาบ้าง

ต่อประกันรถยนต์

ระบบบันทึกคะแนนความประพฤติในการขับรถ

Credit : www.springnews.co.th
  • ผู้ที่มีใบอนุญาตขับขี่แต่ละคนจะได้รับคะแนนความประพฤติเริ่มต้นคนละ 12 คะแนน 
  • ส่วนผู้ไม่มีใบขับขี่จะถูกดำเนินคดีในข้อหาขับรถโดยไม่มีใบอนุญาตสำหรับรถส่วนบุคคล มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน ปรับไม่เกิน 1,000 บาท
  • ถ้าคะแนนถูกตัดจนหมด 12 คะแนน จะต้องพักการใช้ใบอนุญาตขับขี่ 90 วัน (ในระหว่างนี้หากทำผิดจะถูกบันทึกคะแนนและถูกตัดแต้มในภายหลัง ครบ 1 ปี จะได้คะแนนกลับคืนนับจากวันที่เริ่มถูกตัด)
  • เมื่อพ้นกำหนดและผ่านการอบรมจากกรมการขนส่งทางบกจะได้คะแนนคืน 12 คะแนน ถ้าไม่ผ่านแต่พ้นกำหนดจะได้คะแนนคืน 8 คะแนนและหากไม่ทำผิดอีกจะได้คะแนนคืนปีละ 2 คะแนน

เกณฑ์การถูกตัดคะแนนแบ่งเป็น 4 กลุ่ม

  • ตัด 1 คะแนน เช่น
    1. ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ขณะขับรถ
    2. ขับรถยนต์โดยไม่รัดเข็มขัดนิรภัย
    3. ขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์โดยไม่สวมหมวกนิรภัย 
    4. ขับรถด้วยอัตราความเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด
    5. ขับรถโดยไม่หยุดให้คนเดินข้ามทาง ณ ทางข้าม
    6. ขับรถไม่หลบรถฉุกเฉินโดยไม่มีเหตุอันสมควร
    7. ขับรถบนทางเท้าโดยไม่มีเหตุอันสมควร
    8. ไม่ชำระค่าปรับโดยไม่มีเหตุอันสมควร
  • ตัด 2 คะแนน เช่น
    1. ขับรถย้อนศร
    2. ขับขี่โดยประมาท
    3. ขับรถฝ่าไฟแดง
    4. ขับรถในระหว่างที่ใบอนุญาตถูกสั่งยึด ถูกสั่งพักใช้หรือถูกสั่งเพิกถอน
  • ตัด 3 คะแนน เช่น
    1. ขับรถเมื่อไม่พร้อมจะขับ (หย่อนความสามารถในการขับขี่)
    2. จัด สนับสนุนหรือส่งเสริมการแข่งรถโดยไม่ได้รับอนุญาต
    3. ขับรถโดยก่อความเสียหายให้แก่บุคคลอื่นและไม่หยุดรถให้ความช่วยเหลือ
  • ตัด 4 คะแนน เช่น
    1. ขับรถในขณะเมา
    2. ขับรถในขณะเสพสารเสพติด
    3. ขับรถโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยของบุคคลอื่น
    4. แข่งรถในทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต

กฎหมายจราจรที่เกี่ยวข้องกับเครื่องหมายจราจร

เครื่องหมายจราจร (Traffic Sign) หรือป้ายจราจร หมายถึง สัญลักษณ์ทางจราจร ใช้ในการควบคุมการจราจร มักเป็นสัญญาณไฟหรือป้ายเพื่อบริหารจัดการการจราจรให้มีความปลอดภัยสำหรับผู้ใช้รถใช้ถนนและช่วยลดและป้องกันความเสี่ยงที่จะนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุ ประกอบด้วย 3 ประเภท 

ประเภทป้ายบังคับ

เพื่อบังคับ ควบคุม ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดมีลักษณะเป็นป้ายขอบสีแดงพื้นขาวหรือขอบแดงพื้นน้ำเงินและพื้นน้ำเงินสัญลักษณ์ขาว เช่น

  • ป้ายหยุด = รถทุกชนิดต้องหยุดเมื่อเห็นว่าปลอดภัยแล้วจึงให้เคลื่อนรถต่อไปได้ด้วยความระมัดระวัง
  • ป้ายให้ทาง = รถทุกชนิดต้องระมัดระวังและให้ทางแก่รถและคนเดินเท้าในทางขวางหน้าผ่านไปก่อน เมื่อเห็นว่าปลอดภัยและไม่เป็นการกีดขวางการจราจรที่บริเวณทางแยกนั้นแล้ว จึงให้เคลื่อนต่อไปได้ด้วยความระมัดระวัง
  • ป้ายห้ามจอด = ห้ามให้จอดรถทุกชนิดระหว่างแนวนั้นเว้นแต่การหยุดรับส่งคนหรือสิ่งของชั่วขณะ ซึ่งต้องกระทำโดยมิชักช้า

ประเภทป้ายเตือน

เพื่อแจ้งเตือนให้ผู้ขับขี่ระมัดระวังและทราบล่วงหน้าเกี่ยวกับทางด้านหน้า ลักษณะป้ายเป็นพื้นเหลืองสัญลักษณ์สีดำ เช่น

  • ป้ายทางโค้งซ้าย/ขวา = ทางข้างหน้าไปทางซ้าย/ทางขวา ให้ขับรถช้าลงและเดินรถชิดด้านซ้ายด้วยความระมัดระวัง
  • ป้ายทางคดเคี้ยว เริ่มซ้าย/เริ่มขวา = ทางข้างหน้าเป็นทางคดเคี้ยว โดยเริ่มคดไปทางซ้าย/ทางขวา ให้ขับรถช้าลงและเดินรถชิดด้านซ้ายด้วยความระมัดระวัง

ประเภทป้ายแนะนำ

เพื่อแนะนำข้อมูลการเดินทาง เช่น

  • เครื่องแสดงโรงพยาบาล
  • ป้ายเดินรถทางเดียวซ้าย/ขวา
  • ป้ายกลับรถ
  • ป้ายแสดงทางข้าม
เช็คเบี้ยประกันรถยนต์

ถ้าหากมีข้อสงสัย หรือสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฏหมายจราจรติดตาม ได้ที่ เว็บไซต์กรมการขนส่งทางบก ต้องการรับข้อมูลข่าวสารใหม่ ๆ เกี่ยวกับเรื่องรถยนต์ที่เจ้าของรถยนต์จะพลาดไปไม่ได้ ติดตาม Priceza Money แพลทฟอร์มเปรียบเทียบประกันภัยรถยนต์ได้ทุกวัน!

ขอบคุณข้อมูลรูปภาพจาก : th.wikipedia.org/wiki/ป้ายจราจรในประเทศไทย