ไม่ใช่เจ้าของรถจะเคลมประกันรถยนต์และพรบ.ได้ไหม

  • พรบ. เบิกความคุ้มครองได้ปกติ ถึงคนขับจะไม่ใช่เจ้าของรถคันที่เกิดอุบัติเหตุ
  • ประกันภาคสมัครใจ หรือ ประกันชั้น 1, 2, 3, 2+, หรือ 3+ หากคนขับมีใบขับขี่หรือเคยมี สามารถแจ้งเคลมได้ปกติ แต่อาจจะเสียค่าผิดเงื่อนไข 6,000-8,000 บาท หากประกันเป็นแบบระบุผู้ขับขี่

สำหรับหลายๆคนที่อาจจะมีโอกาสให้คนในบ้าน หรือ เพื่อนๆ ยืมรถไปขับ ใครๆก็ไม่อยากให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นอยู่แล้วครับ เพียงแต่บางครั้งก็อาจจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะอุบัติเหตุ เป็นเรื่องที่ควบคุมไม่ได้จริงๆ

แต่ถ้า “ให้คนอื่นที่ไม่ใช่เจ้าของรถขับ แล้วเกิดอุบัติเหตุล่ะ ประกันจะเคลมให้ไหม?” วันนี้ผมจะมาตอบให้ฟังอย่างละเอียดกันเลยครับ

*โดยข้อเน้นย้ำว่าต้องเป็นกรณีที่เจ้าของรถยินยอมให้คนที่ไม่ใช่เจ้าของรถนำรถไปขับเท่านั้นนะครับ ไม่รวมกรณีรถโดนขโมยไปโดยไม่ยินยอมนะครับ

ประกันรถยนต์เบิกหรือเคลมความคุ้มครองได้ สองประเภท

ก็ต้องเล่าก่อนนะครับว่า พูดถึงประกันรถยนต์ ก็จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทอีก คือ

  1. พรบ. หรือประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ
  2. ประกันรถยนต์ชั้น 1, 2, 3, 2+, หรือ 3+ หรือประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ

ซึ่งก็จะตอบคำถามไปทีละประเภทนะครับ

ไม่ใช่เจ้าของรถเคลมได้ไหม

ไม่ใช่เจ้าของรถ เบิกหรือแจ้งเคลม จาก พรบ. ได้ไหม

สำหรับความคุ้มครอง พรบ. หรือประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ ความคุ้มครองทั้งหมดจะเกี่ยวกับความคุ้มครองคนที่ประสบภัยจากรถบนท้องถนน ถูกกำหนดว่า

” ไม่ว่าคนขับจะเป็นเจ้าของรถหรือไม่ใช่ พรบ. จะคุ้มครองปกติ ไม่มีข้อยกเว้น “

รวมถึงกรณีที่คนขับไม่มีใบขับขี่ พรบ. ก็จะคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลและค่าชดเชยต่างๆเป็นปกติครับ (แต่ในข้อกฏหมายก็อาจจะต้องเสียค่าปรับในกรณีไม่มีใบขับขี่นะครับ)

โดยความคุ้มครองของพรบ. ก็อาจจะต้องไปคุยต่อว่าคุ้มครองเท่าไหร่ เพราะอย่างที่เรารู้กันนะครับ พรบ ก็จะมี ความคุ้มครองเบื้องต้น กับ ความคุ้มครองส่วนเกินค่าเสียหายเบื้องต้น ถ้าเป็นฝ่ายผิดไม่มีคู่กรณีก็เบิกได้แค่ความคุ้มครองเบื้องต้น ถ้าเป็นฝ่ายถูก โดนชน ก็เบิกได้ถึง ส่วนเกินความเสียหายเบื้องต้น นั่นเองครับ

ไม่ใช่เจ้าของรถ เบิกหรือแจ้งเคลม จาก ประกันรถยนต์ชั้น 1, 2, 3, 2+, หรือ 3+ ได้ไหม

มาถึงความคุ้มครองจากประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ หรือ ประกันรถยนต์ชั้น 1, 2, 3, 2+, หรือ 3+ ที่เราคุ้นหูกันนั่นเองครับ โดยจะมีเงื่อนไขเล็กๆเพิ่มขึ้นมาคือ

กรณีคนขับไม่มีใบขับขี่

ในกรณีคนที่ ไม่ใช่เจ้าของรถนำรถไปขับแล้วเกิดอุบัติเหตุ แต่ ไม่มีใบขับขี่มาก่อน หรือ เคยมีใบขับขี่แต่โดนเพิกถอนโดยกรมขนส่ง ในกรณีนี้

” ประกันรถยนต์จะไม่คุ้มครองค่าซ่อมรถเราเลยนะครับ “

เพราะถือว่าเป็นการผิดเงื่อนไขของประกันรถยนต์ แต่ประกันรถยนต์จะยอมสำรองจ่ายค่าซ่อมทรัพย์สินบุคคลภาพนอกให้ก่อนเบื้องต้น ซึ่งเป็นแค่การ ‘สำรองจ่าย’ นะครับ สุดท้ายบริษัทประกันจะกลับมาเรียกค่าซ่อมที่จ่ายไปกับคนก่อเหตุอยู่ดีครับ

กรณีคนขับมีใบขับขี่

หากคนขับมีใบขับขี่ (ใบขับขี่หมดอายุหรือไม่ได้พกมาก็นับรวมว่ามีใบขับขี่นะครับ) และประกันรถยนต์ของรถคันที่ขับ เป็นแบบไม่ระบุผู้ขับขี่

” ประกันรถยนต์จะเคลมได้ และ ได้รับความคุ้มครองตามปกติเลยครับ “

แต่หากประกันรถยนต์ของรถคันที่ขับ เป็นแบบ ระบุผู้ขับขี่ ตรงนี้ต้องบอกก่อนว่าประกันก็จะคุ้มครองปกติเช่นกันนะครับ แจ้งเคลมได้ แต่!!

” เราจำเป็นที่จะต้องจ่าย “ค่าผิดเงื่อนไข” เป็นค่าส่วนแรกให้กับบริษัทประกันก่อนที่จะได้รับความคุ้มครองครับ “

โดยค่าผิดเงื่อนไขเป็นเงินจำนวนรวมทั้งหมด 8,000 บาท แบ่งเป็น 2 ส่วน

  • ค่าชดเชยให้คู่กรณีส่วนแรก 2,000 บาท
  • ค่าซ่อมรถตัวเองส่วนแรก 6,000 บาท

โดยถ้าหากเกิดอุบัติเหตุแล้วไม่ได้ทำทรัพย์สินคนอื่นเสียหายก็จะเสียแค่ส่วนของค่าซ่อมรถตัวเองส่วนแรก 6,000 บาท ครับ

เปรียบเทียบประกันภัยรถยนต์

ประกันรถยนต์

รวบรวมแผนประกัน และโปรโมชั่นจากหลากหลาย บริษัทประกันมาให้คุณเปรียบเทียบที่เดียว ไม่ต้องเข้าหลายเว็บ

สุดท้ายนี้ผมขอแนะนำว่าจะให้ใครยืมรถไปขับก็ควรจะเป็นคนที่มีใบขับขี่นะครับ เพื่อความคุ้มครองที่จะได้รับเวลาเกิดอุบัติเหตุขึ้น และถ้าเกิดตอนทำประกันรถยนต์ คิดว่ารถคันที่เราใช้จะต้องมีคนหยิบยืมไปใช้หลายๆคนก็ไม่แนะนำให้ระบุผู้ขับขี่นะครับ เกิดเหตุมาทีนึงจ่ายเงินแทบจะครึ่งหนึ่งของเบี้ยประกันแล้ว แต่ถ้าแน่ใจว่าไม่ได้ให้ใครยืมไปขับ การระบุผู้ขับขี่ก็จะช่วยลดเบี้ยได้เพิ่มบางส่วนนะครับ ยังไงก็ขอให้เลือกทำประกันที่เหมาะสมกับพฤติกรรมการขับของตัวเองและคนรอบข้างเพื่อผลประโยชน์ที่ดีที่สุดนะครับ

แต่หากไม่รู้ว่าจะทำประกันที่ไหนดี ฝาก Priceza Money ไว้ในอ้อมอกอ้อมใจของทุกคนด้วยนะครับ เพราะเราเป็นเว็บเปรียบเทียบประกันรถยนต์ที่รวบรวมประกันหลากหลายเจ้าไว้ให้ทุกๆคนมาเลือกโดยที่ไม่ได้มาบังคับขายเลยครับ

หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกคนครับ ขอบคุณครับ

อ่านบทความอื่นๆเพื่อ "ตัดสินใจใช้ประกันรถยนต์ได้อย่างคุ้มค่า"

Share:

Facebook