ออมเงินยังไง ให้ตอนเกษียณ ยังมีเงินเก็บหลักล้าน

0
1149

อยากมีเงินเก็บอยู่ชิวๆ สบายๆ ยามเกษียณ ต้องทำยังไงบ้างนะ … มนุษย์เงินเดือนหลายๆ คนคงคิดอยากมีเงินเก็บยามเกษียณ แต่ก็ไม่รู้จะทำยังไง จะออมยังไง ทำยังไงเกษียณแล้วยังมีเงินเก็บ “หลักล้าน” มาดูกันเลย …

เริ่มตั้งแต่หลักคิดหลักใจกันก่อน

การตั้งจิตตั้งใจ มีหลักคิด จะเป็นเหมือนหางเสือช่วยให้เราประสบความสำเร็จได้จริง ดังนั้นเราจึงควรเริ่มต้นด้วยการมีหลักคิดที่ถูกต้อง หรือมีทัศนคติทางการเงินที่ถูกต้องเสียก่อน

อย่างแรกเลย เราต้องไม่ดูถูกพลังของการออมเงิน การออมเงินนั้นสามารถ “เปลี่ยนหลัก” ของตัวเลขในบัญชีธนาคารของเราได้ จากหลักพัน เป็นหลักหมื่น เป็นหลักแสน ไปจนถึงหลักล้าน … ยกตัวอย่างง่ายๆ ถ้าเราออมเงินแค่เดือนละ 2,000 บาท เราจะมีเงินหลักหมื่นภายในปีเดียวคือ 24,000 บาท และถ้าเราทำต่อเนื่องไปเรื่อยๆ เราจะมีเงินหลักแสนภายในไม่เกินสิบปี หรือราว 240,000 บาท (คิดที่สิบปี)

ตัวอย่างข้างต้นจะเห็นได้ชัดเจนเลยว่า … เรายังไม่ได้รับผลตอบแทนอะไรเลย เพียงแค่ออมเฉยๆ ก็สามารถ “เปลี่ยนหลัก” ของตัวเลขในบัญชีธนาคารของเราได้แล้ว ง่ายๆ นี่คือวิธีการออมเงินที่ง่ายที่สุดนั่นเอง

 

เงินเก็บยามเกษียณ

 

เริ่มล่าผลตอบแทนจากการลงทุน

ประการต่อมา … เราต้องมองหาวิธีการออมเงินหลายๆ รูปแบบเข้าไว้ ส่วนตัวแล้วจะเรียกมันว่า “นักล่าผลตอบแทนจากการลงทุน” หรือการลงทุนในอะไรซักอย่างให้ผลตอบแทนกลับมาอย่างไร เรามาดูผลตอบแทนจากสถิติเก่าๆ ที่เคยมีดังนี้

  1. ผลตอบแทนจากการฝากเงินในธนาคารกินดอกเบี้ย 1-2% ต่อปี
  2. ผลตอบแทนจากการซื้อฉลากประเภทต่างๆ เช่น ฉลากออมสิน ฉลาก ธกส. 2-3% ต่อปี
  3. ผลตอบแทนจากการลงทุนในกองทุนรวมระยะยาว 5-10% ต่อปี
  4. ผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้นระยะยาว 10-15% ต่อปี

หากเราจำกัดการลงทุนเพียงแค่ 4 อย่างข้างต้น เราจะเห็นว่าการลงทุนในหุ้น “ระยะยาว” นั้นให้ผลตอบแทนดีที่สุด (ตามสถิติที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยศึกษาเอาไว้) แต่ถ้าเราลงทุนหุ้นไม่เป็น เราก็สามารถลงทุนผ่านกองทุนรวม ให้ผู้จัดการกองทุนที่มีความรู้ด้านการลงทุนเป็นอย่างดีทำงานเลือกวิธีการลงทุน เลือกหุ้นลงทุนให้กับเรา หรือหากไม่ชอบการลงทุน เพราะกลัวเสี่ยง ก็ยังสามารถซื้อฉลากรูปแบบต่าง เช่น ฉลากออมสิน ฉลาก ธกส. ก็ยังให้ผลตอบแทนที่ใช้ได้ไม่เลว และทางเลือกสุดท้ายก็คือ ฝากเงินในธนาคารกินดอกเบี้ย 1-2% ต่อปี ซึ่งถือว่าต่ำที่สุด

แล้วเราจะไปถึงฝั่งฝันของเงินล้านด้วยวิธีไหนดี

คำตอบก็คือ เราต้องเลือกวิธีที่เราถนัดที่สุด หรือเข้าใจมันมากที่สุด และคำแนะนำก็คือ ควรเลือกวิธีที่เราสบายใจ เพราะการลงทุนที่จะได้เห็นผลตอบแทน เห็นหน้าเห็นหลังนั้น เราควรลงทุน “ระยะยาว” เมื่อเราต้องอยู่กับมันยาวๆ ก็ควรเลือกสิ่งที่เราสบายใจ ถือสินทรัพย์เหล่านั้นแล้วนอนหลับสบาย

บางคนคิดว่า ทำไมไม่เลือกลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งคำตอบก็คือ สามารถลงทุนได้ แต่การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ แค่มีเงินแล้วถือไปซื้อคอนโดฯ ซักห้อง นำมาปล่อยเช่ามันไม่ง่ายอย่างที่คิด แต่การลงทุนในรูปแบบทั่งสี่ที่เลือกมาให้พิจารณานั้น ทำได้ไม่ยาก และใช้เงินเริ่มต้นไม่มากนั่นเอง

 

เก็บเงินลงทุน

 

แบบจำลองการเติบโตของพอร์ตการลงทุน

สำหรับการจำลองการเติบโตของการลงทุนระยะยาวของเรานั้น ทำง่ายๆ เราสามารถใช้ “กฎ 72” ช่วยคิดคำนวณแบบคร่าวๆ ได้ … โดยกฎก็คือ ให้นำผลตอบแทนที่คาดหวังของวิธีการลงทุนแต่ละรูปแบบมาหารด้วยตัวเลข 72 จะได้จำนวนปีที่จะทำให้เงินต้นของเราโตเป็นเท่าตัว

ตัวอย่างเช่น ถ้าเราลงทุนในกองทุนรวมให้ผลตอบแทน 10% ต่อปี เราสามารถคิดคำนวณปีที่เงินลงทุนจะโตเป็นสองเท่า = 72/10 = 7.2 ปี พูดง่ายๆ ก็คือ เราจะใช้เวลา 7.2 ปีทำเงินให้โตเท่าตัว

ถ้าเราเริ่มต้นเก็บเงินลงทุนกองทุนรวมด้วยเงิน 10,000 บาท ภายใน 7.2 ปี เงินเราจะงอกเป็น 20,000 บาท และเงินจะงอกเป็น 40,000 ภายในอีก 7.2 ปี หลายคนอาจบอกว่ามันช้าไปมั้ยอ่ะ … ถ้าเราอยากให้เร็วขึ้นต้องใช้พลังแห่งการออมเข้าช่วย ด้วยการเติมเงินเข้าไปในกองเริ่มต้น ถ้าเราเติมเงินเข้าไปเพิ่มอีกเดือนละ 1,000 บาท จากเงินต้น 10,000 บาท เงินในแต่ละปีที่เพิ่มจะกลายเป็น 22,000 บาท หรือเพิ่มเกินเท่าตัว ก็จะทำให้เป้าหมาย 1 แสนบาท หรือการเปลี่ยนหลักของเงินเร็วขึ้นนั่นเอง

สูตรสำเร็จเงินล้านภายในไม่เกิน 20 ปี

ขอสรุปสูตรสำเร็จเงินล้านภายใน 20 ปีดังต่อไปนี้ หากเราออมเงินแค่เดือนละ 2,000 บาท ออมด้วยการซื้อกองทุนรวมที่ให้ผลตอบแทน 10% ต่อปี ภายใน 20 ปีเราจะมีเงินล้านได้ตามตาราง

ปีที่ 1

24,000.00

ปีที่ 2

50,400.00

ปีที่ 3

79,440.00

ปีที่ 4

111,384.00

ปีที่ 5

146,522.40

ปีที่ 6

185,174.64

ปีที่ 7

227,692.10

ปีที่ 8

274,461.31

ปีที่ 9

325,907.45

ปีที่ 10

382,498.19

ปีที่ 11

444,748.01

ปีที่ 12

513,222.81

ปีที่ 13

588,545.09

ปีที่ 14

671,399.60

ปีที่ 15

762,539.56

ปีที่ 16

862,793.52

ปีที่ 17

973,072.87

ปีที่ 18

1,094,380.16

ปีที่ 19

1,227,818.17

ปีที่ 20

1,374,599.99

 

คำถามก็คือ เก็บเงินเดือนละสองพันบาทคุณทำได้หรือไม่ มีวินัยมากพอหรือเปล่า วิธีการมีอยู่แล้ว เหลือแต่ลงมือทำ เมื่อยามเกษียณอย่างน้อยเรามีเงินล้าน ดีกว่าไม่มี จริงมั้ย?