ถ้าเรา ต่อ พรบ. แล้วไม่ต่อประกันได้ไหม?

ต่อพรบ.แล้ว ไม่ต่อประกันได้ไหม

ถาม : ถ้าเราต่อ พรบ. ไม่ต่อประกันได้ไหม? เราสามารถต่อพรบ. อย่างเดียวได้ไหม?

คำตอบ : ได้ครับ ไม่มีปัญหาใดๆทั้งสิ้น ไม่ผิดกฏหมาย และ ไม่มีใครสามารถบังคับได้ครับ เพราะที่กฏหมายบังคับมีเพียงแค่ การต่อพรบ. (ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ) และ การเสียภาษีรถยนต์ เท่านั้นครับ

เป็นอีกคำถามนึงที่มีคนถามเข้ามาอย่างมากมายนะครับ ว่าถ้าต่อ พรบ. แล้ว เราไม่ต่อประกันได้ไหม? สามารถต่อพรบ. อย่างเดียวได้ไหม? ซึ่งก็ไม่แปลกที่หลายๆคนจะเข้าใจผิดหรือ สับสนเกี่ยวกับ ‘พรบ.’ หรือ ‘ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ’ และ ‘ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ’ หรือ ประกันรถยนต์ชั้น 1 2 3 ซึ่งวันนี้ผมจะมาอธิบายความแตกต่าง และ สิ่งที่ต้อง ‘ต่อ’  เมื่อคุณมีรถยนต์ครับ

เมื่อมีรถยนต์ คุณจำเป็นต้องมี พรบ. และ ภาษีรถยนต์ (ป้ายติดหน้ารถที่มีปี พ.ศ.)

เมื่อทุกคนซื้อรถยนต์ ไม่ว่ารถยนต์คันนั้นจะเป็นรถเก่าหรือรถใหม่ ก็จะมีสิ่งที่ต้องทำเพิ่ม และเสียเงินเพิ่มแน่มาอีก 2 อย่าง นั่นคือ

  • พรบ. หรือ ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ
  • ภาษีรถยนต์ หรือ ป้ายติดหน้ารถที่มีปี พ.ศ. นั่นแหละครับ

โดยสองอย่างข้างต้นนี้เป็นสิ่งที่กฏหมายบังคับให้ทำให้เรียบร้อย ถ้าหากคุณมีรถยนต์ในครอบครองนั่นเองครับ

เกร็ดความรู้เล็กน้อย ต่อพรบ. ก่อนแล้วถึงจะสามารถ ไปต่อภาษีได้นะครับ

ส่วนฝั่งของ ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ หรือ ประกันรถยนต์ชั้น 1 2 3 ที่เรารู้จักกันดีนั้น กฏหมายไม่ได้บังคับให้ต้องทำนะครับ เพราะฉะนั้น ไม่จำเป็นต้องมีก็ได้ครับ

ต่อพรบ.แล้ว ไม่ต่อประกันได้ไหม

ทำไมถึงต้องบังคับให้ต่อ พรบ.

เนื่องจากอุบัติเหตุบนท้องถนนเกิดขึ้นได้ง่ายและบ่อยครั้งมากๆครับ เพราะฉะนั้นกฏหมายจึงต้องระบุให้ทุกคนที่ครองครองรถต้องมี พรบ. (ยกเว้นรถบางประเภท เช่น รถของทางพระราชวัง และ ของกระทรวงต่างๆ) เพื่อที่จะมีความคุ้มครองเบื้องต้นและวงเงินเบื้องต้นที่จะจ่ายให้ผู้ที่เสียหาย หรือรับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุบนท้องถนน อย่างน้อยก็เป็นการรับประกันว่า คนเจ็บจะได้มีวงเงินใช้รักษาตัวหรือชดเชยในเบื้องต้นครับ (พรบ. จ่ายค่ารักษาพยาบาลสูงสุด 80,000 บาท) โดยความคุ้มครองทั้งหมดจะคุ้มครองเฉพาะ ‘คน’ เท่านั้นนะครับ

เปรียบเทียบประกันภัยรถยนต์

ประกันรถยนต์

รวบรวมแผนประกัน และโปรโมชั่นจากหลากหลาย บริษัทประกันมาให้คุณเปรียบเทียบที่เดียว ไม่ต้องเข้าหลายเว็บ
เปรียบเทียบประกันรถยนต์ชั้น 1

แล้วทำไมหลายๆคนถึงต้องซื้อประกันภาคสมัครใจ (ประกันชั้น 1 2 3) เพิ่ม?

จากข้างต้น เมื่อทุกๆคนทำ พรบ. แล้ว ก็จะมีความคุ้มครอง ‘คน’ แล้วใช่มั้ยครับ แต่ที่ยังไม่มีความคุ้มครองคือ ‘รถ’ นั่นเองครับ

ใช่ครับ คำตอบคือ ประกันภาคสมัครใจ หรือ ประกันรถยนต์ชั้น 1 2 3 จะเข้ามาทำหน้าที่คุ้มครองเพิ่มเติมจาก พรบ. ในการคุ้มครองทรัพย์สินต่างๆของเรา และคู่กรณีครับ (นอกจากนี้ยังมีวงเงินคุ้มครองคนเพิ่มให้อีกด้วยครับ ในกรณีที่ พรบ. จ่ายไม่พอ)

เพราะหากเราเกิดอุบัติเหตุครั้งหนึ่ง นอกจากค่าชดเชยที่เราอาจจะต้องจ่ายเช่นค่ารักษาพยาบาลแล้ว ก็ยังมีค่าชดเชยที่เราต้องจ่ายในส่วนของทรัพย์สินของคนอื่น และ ค่าซ่อมรถเราอีกนะครับ ตรงนี้ ประกันภาคสมัครใจจะเข้ามาทำหน้าที่ช่วยจ่ายในส่วนนี้นั่นเองครับ

ใครสนใจละลองดูราคาของประกันภาคสมัครใจ แนะนำเว็บของ Priceza Money ที่นี่ เลยครับ

โดยสรุปจากผมนะครับ ส่วนของประกันรถยนต์ภาคสมัครใจไม่ได้บังคับให้ทำในเชิงกฏหมายก็จริง แต่หลายๆคนก็เลือกที่จะทำเพราะเป็นการประกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น และบรรเทาความเสียหายต่อเงินในกระเป๋ากรณีที่เกิดอุบัติเหตุขึ้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้รถและเงินในกระเป๋าของทุกคนด้วยนะครับ

  • หากใครที่คิดว่าเรามีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดอุบัติเหตุในพื้นที่ที่เราใช้รถอยู่ประจำและไม่ได้มีเงินเก็บเตรียมพร้อมที่จะจ่ายค่าเสียหายที่เกิดขึ้นมากพอ ก็แนะนำให้ทำเถอะครับ 2+ 3+ ก็ได้ครับ ราคาต่ำลงมาหน่อย แต่สบายใจและสบายเงินในกระเป๋าครับ
  • ส่วนถ้าหากใครใช้รถอยู่ในพื้นที่ที่ไม่ได้มีความเสี่ยงใดๆที่จะเกิดอุบัติเหตุ หรือมั่นใจว่าเราขับรถดีพอ (และมีดวงดีพอที่คนอื่นจะไม่มาชนเรา) จะเลือกที่จะไม่ทำก็ได้ครับ ไม่ผิดเหมือนกัน
 
 ลองดูคลิปกันต่อได้ครับ ผมได้ทำไว้เกี่ยวกับ “4 เหตุผลของคนที่ไม่จำเป็นต้องมีประกัน”
ยังไงหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับทุกคนเช่นเคยนะครับ

อ่านบทความอื่นๆเพื่อ "ตัดสินใจซื้อประกันรถยนต์หรือ พรบ. ได้อย่างคุ้มค่า"

Share:

Facebook