เรื่องที่ติดอันดับต้น ๆ ของประเทศไทยที่เกิดขึ้นมากที่สุดในแต่ละรอบปี คงหนีไม่พ้นเรื่องการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน ซึ่งในแต่ละปีมียอดผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก สาเหตุหลักเกิดมาจากการเมาแล้วขับ นั่นเอง ถึงแม้ว่าทางรัฐบาลเองจะมีการออกมาตรการกฎระเบียบ ข้อบังคับและบทลงโทษในเรื่องนี้ แต่ก็ยังไม่สามารถช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุจากการเมาแล้วขับได้มากนัก โดยเฉพาะในช่วงเวลาเทศกาลต่าง ๆ ที่มีผู้ใช้รถใช้ถนนในการเดินทางกลับภูมิลำเนากันเป็นจำนวนมาก สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนมีอะไรบ้าง ตามมาดูกัน
Contents
กฏหมายเมาแล้วขับฉบับ ปี 2563
กฎหมายและบทลงโทษฉบับเดิมกำหนดไว้ สำหรับผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมาย เนื่องจากเมาแล้วขับ กล่าวคือผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์เกินระดับจากที่กฎหมายกำหนดไว้ จะต้องถูกจำคุกไม่เกิน 1 ปี และปรับเงิน 5,000 บาท ถึง 20,000 บาท จากการบังคับใช้กฎหมายแล้วนั้น พบว่าสถิติจำนวนของผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจากอุบัติเหตุบนท้องถนน (ข้อมูลปี 2561) เนื่องมาจากการเมาแล้วขับ ยังคงมีแนวโน้มที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ เป็นผลทำให้มีการแก้ไขกฎหมายฉบับใหม่เรื่องการเมาแล้วขับขึ้นมา ซึ่งมาตรการและบทลงโทษมีความเข้มงวดกว่ากฎหมายฉบับเดิมมาก ถือเป็นข้อดีที่จะช่วยทำให้ผู้ขับขี่มีความระมัดระวังมากยิ่งขึ้น และเป็นการช่วยปรับพฤติกรรมของผู้ที่ชอบดื่มแอลกอฮอล์ในอัตราที่เกินกว่ากฎหมายกำหนด

ในแต่ละกรณีจะมากหรือน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยได้มีการแบ่งค่าปรับ/บทลงโทษสำหรับความผิดเมาแล้วขับ ไว้ดังนี้
ค่าปรับเมาแล้วขับ เป็นเหตุทำให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บทั้งทางร่ายกายและจิตใจ

ค่าปรับจะอยู่ที่ 20,000 – 100,000 บาท และมีโทษจำคุก 1-5 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ และมีสิทธิ์ถูกพักการใช้ใบขับขี่อย่างน้อย 1 ปี
ค่าปรับเมาแล้วขับ เหตุเกิดจากความประมาท และทำให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บอย่างสาหัส

ค่าปรับจะอยู่ที่ 40,000 – 120,000 บาท มีโทษจำคุก 2-6 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ และมีสิทธิ์ถูกพักการใช้ใบขับขี่อย่างน้อย 2 ปี และมีสิทธิ์ถูกพักการใช้ใบขับขี่อย่างถาวร
ค่าปรับเมาแล้วขับ เหตุเกิดจากความประมาทและทำให้ผู้อื่นเสียชีวิต

ค่าปรับกรณีนี้จะอยู่ที่ 60,000 – 200,000 และได้รับโทษจำคุก 2-6 ปี หรือทั้งจำและปรับ และมีสิทธิ์ถูกพักการใช้ใบขับขี่อย่างถาวร
10 สาเหตุ จากการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน

- เมาแล้วขับ
- ขับรถในขณะที่ง่วง
- ขับรถด้วยความเร็วสูง
- ไม่คาดเข็มขัดนิรภัยและสวมหมวกกันน๊อค
- ใช้โทรศัพท์ขณะขับรถ
- ไม่ตรวจเช็คสภาพรถก่อนออกเดินทาง
- บรรทุกเกินอัตรา
- แซงรถในที่คับขัน
- หลับใน
- ฝ่าฝืนกฏจราจร
อุบัติเหตุที่เกิดจากการเมาแล้วขับ ดังที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้เสียทั้งเวลาและ ทรัพย์สิน ได้รับบาดเจ็บหรือร้ายแรงจนถึงแก่ชีวิต ถึงแม้ว่าทางรัฐจะมีการรณรงค์การลดอุบัติเหตุจากการเมาแล้วขับ อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นยังคงเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ผู้ขับขี่ทุกคนจึงต้องรู้กฎหมายในเรื่องนี้ เพื่อสร้างความตระหนักและระมัดระวัง
วิธีหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุเนื่องจากการเมาแล้วขับ
- ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ก่อนออกเดินทาง และขณะขับรถ
- ไม่ควรขับรถด้วยตนเองอย่างเด็ดขาด หากมีอาการมึนเมา
- ใช้บริการรถแท็กซี่ หากสภาพร่างกายไม่พร้อมหรือมีอาการมึนเมา
- พักบริเวณจุดพักรถ จนอาการสร่างเมาดีขึ้น แล้วค่อยขับรถต่อไป
อุบัติเหตุบนท้องถนนเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาผู้ขับขี่ต้องใช้สติ ระมัดระวัง และไม่ประมาทในขณะขับขี่ ควรคาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้ง หรือสวมหมวกกันน๊อคในกรณีขับขี่รถจักรยานยนต์ จะเป็นการช่วยลดอุบัติเหตุและความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้มากที่สุด ดังนั้นผู้ขับขี่จำเป็นที่จะต้องมีความรู้และตระหนักในเรื่องของความปลอดภัยในการขับขี่ โดยปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มาจากการที่ผู้ขับขี่ละเลยในการปฏิบัติตามกฏแห่งความปลอดภัยหรือกฏจราจรนั่นเอง ก่อให้เกิดผลกระทบตามมามากมายจนอาจจะต้องพบกับความสูญเสียอย่างที่ท่านไม่อาจคาดคะเนได้เลย
ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ขอให้ผู้ขับขี่ทุกท่านขับรถอย่างมีสติ และไม่ประมาท มีสติก่อนสตาร์ทและเมาไม่ขับ เพียงเท่านี้ก็จะช่วยป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นบนท้องถนนได้มากทีเดียว นอกจากจะช่วยให้แคล้วคลาดปลอดภัย ยังมีประโยชน์จากเงื่อนไขผู้ขับขี่ดีด้วยนะ หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ใช้รถใช้ถนนทุกท่าน