เมื่อรถชนแล้วคู่กรณีไม่มีประกันรถยนต์ จะเป็นอย่างไร

0
1923

อุบัติเหตุ หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดหวังและไม่ตั้งใจในเวลาและสถานที่แห่งหนึ่ง เกิดขึ้นโดยไม่มีสิ่งบอกเหตุล่วงหน้า การขับขี่รถบนท้องถนนในปัจจุบัน เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุได้ตลอดเวลาเลยนะ เมื่อเราเกิดอุบัติเหตุรถชน เราก็ควรมีอะไรคุ้มครองในการใช้รถของเราบ้างนะ นั้นก็คือ ประกันภัยรถยนต์ โดยประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจมีแบบไหน มีกี่ประเภทกันบ้างนะ จะจำแนกประเภทประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจให้ได้รับทราบเป็นข้อมูลกัน

ประกันรถยนต์

ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้

ประกันชั้น 1

ถือเป็นประกันรถยนต์ที่คุ้มครองครอบคลุมที่สุด รับเฉพาะรถยนต์และรถกระบะส่วนบุคคลเท่านั้น และต้องเป็นรถที่มีอายุไม่เกิน 7 ปี โดยจะรับผิดชอบชีวิต และทรัพย์สินของผู้เอาประกันภัย และคู่กรณี รวมถึงอุบัติเหตุอื่น ๆ เช่น ไฟไหม้ โจรกรรม และภัยธรรมชาติตามที่สัญญาระบุไว้

ประกันชั้น 2

เป็นประกันภัยที่คุ้มครองและรับผิดชอบทางร่างกายของผู้เอาประกันภัยและคู่กรณี ความเสียหายต่อรถหรือทรัพย์สินของคู่กรณี รวมถึงเหตุอื่น ๆ เช่น ไฟไหม้ โจรกรรม และภัยธรรมชาติตามที่ระบุไว้ แต่ประกันภัยชั้น 2 นั้นจะไม่คุ้มครองรถยนต์ของเราเมื่อเกิดอุบัติเหตุ

ประกันชั้น 3

ประกันภัยประเภทนี้จะรับทำทั้งรถส่วนบุคคลและรถเพื่อการพาณิชย์ โดยคุ้มครองและรับผิดชอบตัวรถและทรัพย์สินของคู่กรณี รวมถึงรักษาพยาบาลทั้งผู้เอาประกันและคู่กรณีเมื่อเกิดอุบัติเหตุ แต่ที่สำคัญจะไม่คุ้มครองตัวรถและทรัพย์สินของผู้เอาประกัน

ประกันชั้น 2+

เป็นประกันภัยที่คุ้มครองและรับผิดชอบทางร่างกายของผู้เอาประกันภัยและคู่กรณี รับผิดชอบต่อความเสียหายของตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย กรณีชนกับยานพาหนะทางบกเท่านั้น โดยกรณีชนกับยานพาหนะทางบกและเป็นฝ่ายผิด จะต้องรับผิดชอบความเสียหายส่วนแรกต่อความเสียของตัวรถยนต์ผู้เอาประกันภัย (ค่า Excess หรือ ค่า Deductible) ไม่เกิน 2,000 บาท ซึ่งบางบริษัท ก็มียกเว้นค่าใช้จ่ายส่วนนี้ และรับผิดชอบต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก หรือยานพาหนะของคู่กรณี นอกจากนี้ยังรับผิดชอบต่อความสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์คันเอาประกันภัยด้วย

ผ่อนประกันรถยนต์ยังไม่หมด แต่เกิดอุบัติเหตุ แบบนี้เรียกเคลมได้มั้ย

ประกันชั้น 3+

เป็นประกันภัยที่คุ้มครองและรับผิดชอบทางร่างกายของผู้เอาประกันภัยและคู่กรณี รับผิดชอบต่อความเสียหายของตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย กรณีชนกับยานพาหนะทางบกเท่านั้น โดยกรณีชนกับยานพาหนะทางบกและเป็นฝ่ายผิด จะต้องรับผิดชอบความเสียหายส่วนแรกต่อความเสียของตัวรถยนต์ผู้เอาประกันภัย (ค่า Excess หรือ ค่า Deductible) ไม่เกิน 2,000 บาท ซึ่งบางบริษัท ก็มียกเว้นค่าใช้จ่ายส่วนนี้) และรับผิดชอบต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก หรือยานพาหนะของคู่กรณี แต่จะไม่รับผิดชอบต่อความสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย

แต่ถ้าหากเราเกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวชน แล้วคู่กรณีของเราไม่มีประกัน จะทำอย่างไรกันดีนะ เราคงมืดแปดด้านเลยใช่ไหม จะมีคำแนะนำเมื่อเราเกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวชน แล้วคู่กรณีของเราไม่มีประกัน เราจะมีทางแก้ไขอย่างไรบ้าง ซึ่ง แบ่งออกเป็น case ต่างๆ ดังนี้

Case 1 กรณีเราเป็นฝ่ายผิด

ให้โทรแจ้งบริษัทประกันที่เราได้ทำประกันไว้ ซึ่งเมื่อเจ้าหน้าที่ประกันรถยนต์มาถึงที่เกิดเหตุ ก็จะดำเนินการเคลมประกันให้กับเรา โดยเมื่อดูจากข้อมูลรายละเอียดประเภทประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นนั้น หากว่าเราทำประกันภัยรถยนต์ชั้น 1, 2+, 3, 3+ ไว้ บริษัทประกันจ่ายชดใช้ค่าเสียหายให้คู่กรณี และจะจ่ายค่าซ่อมรถให้กับเราด้วย ซึ่งถ้าเราทำรถยนต์ชั้น 2+ และ 3+ และเราเป็นฝ่ายผิดนั้น เราจะต้องจ่ายความเสียหายส่วนแรก (ค่า Excess หรือ ค่า Deductible) ไม่เกิน 2,000 บาท ซึ่งบางบริษัท ก็มียกเว้นค่าใช้จ่ายส่วนนี้ และที่สำคัญถ้าเราทำประกันชั้น 3 บริษัทประกันจะจ่ายค่าซ่อมให้เฉพาะคู่กรณีเท่านั้นนะ โดยเราต้องจ่ายค่าซ่อมรถของเราเอง เนื่องจากประกันชั้น 3 จะคุ้มครองเฉพาะคู่กรณีเท่านั้น

Case 2 กรณีเราเป็นฝ่ายถูก

ตามปกติแล้วเมื่อเกิดอุบัติเหตุรถชน แล้วถ้าเราเป็นฝ่ายถูก เราก็สามารถเรียกค่าเสียหายจากประกันของคู่กรณีได้เลย แต่ถ้าคู่กรณีไม่ได้ทำประกันไว้ เราก็โทรแจ้งให้บริษัทประกันภัยรถยนต์ของเราทราบ โดยเมื่อเจ้าหน้าที่จากบริษัทประกันมาถึงที่เกิดเหตุ เจ้าหน้าที่จากบริษัทประกันจะเป็นผู้ดำเนินการให้เรา และที่สำคัญเราต้องไปแจ้งความหรือลงบันทึกประจำวันไว้ที่สถานีตำรวจท้องที่ที่เกิดเหตุไว้เป็นหลักฐานด้วย เพื่อเป็นการยินยอมให้บริษัทประกันภัยของเรา สามารถดำเนินการติดตามเงินค่าเสียหายค่าซ่อมรถของเรา จากคู่กรณีได้ โดยในใบบันทึกประจำวันนั้นควรระบุให้แน่ชัดว่า คู่กรณียอมรับผิด และยินดีชดใช้ค่าเสียหายให้ โดยจากข้อมูลรายละเอียดประเภทประกันภัยรถยนต์นั้น จะเห็นว่าบริษัทประกันภัยจะจ่ายค่าซ่อมรถให้กับเรา เมื่อเรามีประกันภัยชั้น 1, 2+, 3+ เท่านั้นนะ และจากนั้นบริษัทประกันภัยจะไปติดตามทวงหนี้จากคู่กรณีเอง โดยเราไม่จำเป็นต้องไปตามทวงหนี้จากคู่กรณี เพราะเราได้ทำประกันไว้ บริษัทต้องจ่ายค่าซ่อมให้เราไปก่อน แล้วค่าซ่อมที่เกิดขึ้นนั้นบริษัทประกันภัยก็จะไปเรียกเก็บกับคู่กรณีอีกที โดยบิลที่ส่งไปเรียกเก็บนั้นจะออกโดยบริษัทประกันภัยของเราไปเรียกเก็บจากคู่กรณี ตามที่อยู่ที่ลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐานที่สถานีตำรวจไว้ แต่ถ้าเราประกันภัยแค่ชั้น 3 ซึ่งจะไม่ครอบคลุมการซ่อมรถให้เรา ดังนั้นเราก็ต้องไปเรียกค่าซ่อมจากคู่กรณีเอง โดยใช้หลักฐานใบแจ้งความหรือลงบันทึกประจำวัน ไปใช้ในการฟ้องร้องทวงหนี้ค่าซ่อมรถจากคู่กรณีด้วยตัวเอง

ประกันรถยนต์

Case 3 กรณีความผิดร่วม

กรณีความผิดร่วม หรือประมาทร่วม คือ ต่างคนต่างผิด ทั้งสองฝ่ายต่างมีส่วนประมาทด้วยกัน ซึ่งกรณีนี้ เราสามารถเรียกร้องเคลมประกันค่าซ่อมรถกับประกันที่เราทำไว้ได้ โดยให้โทรแจ้งบริษัทประกันที่เราได้ทำประกันไว้ ซึ่งเมื่อเจ้าหน้าที่ประกันมาถึงที่เกิดเหตุ ก็จะเคลมประกันให้กับเรา โดยเมื่อดูจากข้อมูลรายละเอียดประเภทประกันภัย ถ้าเราทำประกันภัยรถยนต์ชั้น 1เอาไว้ ก็สามารถเคลมค่าซ่อมรถของเราเองได้เลย แต่ค่าเสียหายที่จะได้อาจจะแค่ครึ่งหนึ่ง เนื่องจากผิดด้วยกันทั้งคู่ ส่วนคู่กรณีก็ให้เขาซ่อมเอง และสำหรับรถที่ทำประกันชั้น 2+ และ 3+ ก็สามารถเคลมค่าซ่อมรถของเราได้เช่นกัน ที่สำคัญต้องมีรถคู่กรณีอยู่ในที่เกิดเหตุด้วย เพราะประกันชั้น 2+ และ 3+ จะรับผิดชอบต่อความเสียหายของตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย กรณีชนกับยานพาหนะทางบกเท่านั้นนะ แต่ถ้าเราทำประกันแค่ชั้น 2 และ 3 ประกันจะจ่ายค่าซ่อมให้กับคู่กรณีเท่านั้น ส่วนรถของเราต้องจ่ายค่าซ่อมเอง

สรุปจาก case ต่างๆ ที่ได้ยกตัวอย่างมา จะเห็นได้ว่า ถ้าเราทำประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 จะปกป้องและคุ้มครองเราได้ทุกกรณีเลยนะ ทำให้เราขับขี่รถได้อย่างอุ่นใจที่สุด แต่เบี้ยประกันก็จะแพงที่สุดเหมือนกัน ซึ่งถ้าเราไม่อยากเสียเบี้ยประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 ที่แพง เราก็สามารถเลือกทำประกันภัยรถยนต์ชั้น 2+ และ 3+ ซึ่งจะคุ้มครองเราได้ดีระดับนึง โดยจะซ่อมให้เรา และคู่กรณีด้วย และเบี้ยประกันก็จะถูกลงมาจากประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 พอสมควรเลย เป็นทางเลือกสำหรับคนที่ต้องการประหยัดค่าใช้จ่ายได้เป็นอย่างดี