รถยางแตกเคลมได้ไหม? เหยียบตะปู เบียดฟุตบาททำไงดี?

รถยางแตกเคลมได้ไหม?

วันนี้ผมจะมาเล่าหัวข้อ “รถยางแตก สามารถเคลมประกันได้ไหม?” ครับ ซึ่งรถยางแตก อาจะเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งก็จะมีทั้งกรณีที่ ประกันคุ้มครองยาง และกรณีที่ไม่คุ้มครองยางด้วยครับ

รถยางแตก เคลมประกันได้ไหม?

  • ถ้าหากรถยางแตกเกิดจากการ ชนแบบไม่มีคู่กรณี ไม่สามารถเคลมยางได้ (ยกเว้นเงื่อนไขของบางบริษัทประกัน)
  • ถ้าหากเกิดเหตุชนแบบ มีคู่กรณีทำให้ยางเสียหาย หรือ ไม่มีคู่กรณีแต่เสียหายทั้งล้อแม็กและตัวยาง สามารถเคลมยางรถยนต์ได้ตามจริง
กรณีรถยางแตก อาจะเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งก็จะมีทั้งกรณีที่ประกันคุ้มครองยาง และกรณีที่ไม่คุ้มครองยางด้วย ตัวอย่างตามด้านล่างเลยครับ

กรณีที่ยางแตก แต่เคลมประกันไม่ได้

ถ้าหากเรา ชนแบบไม่มีคู่กรณีและยางรถยนต์เสียหาย จะไม่สามารถเคลมยางได้เลยครับ ซึ่งอุบัติเหตุแบบไม่มีคู่กรณีก็เช่น

  • เหยียบตะปู
  • แก้มยางฉีก จากการครูดฟุทบาท
  • ยางเบียดฟุตบาท เสียหาย
  • ยางระเบิด หรือยางรั่ว

ทุกกรณีเหล่านี้ถือเป็นข้อยกเว้นในการเคลมประกันนั่นเองครับ

*แต่ถ้าหากอุบัติเหตุที่เกิดจากเหตุการณ์ด้านบน ส่งผลทำให้รถเสียหลักไปชนกับสิ่งอื่นทำให้ตัวรถเสียหาย ประกันก็จะซ่อมตัวรถเราให้ปกตินะครับ เพียงแต่จะไม่คุ้มครองในส่วนของยางรถยนต์เท่านั้นเองครับ

ยางแตกแบบไหนเคลมไม่ได้
ข้อมูลจาก : คู่มือตีความกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ โดย คปภ.

กรณีที่ยางแตกและสามารถ เคลมประกันได้

โดยกรณีที่สามารถเคลมยางกับประกันได้ จะได้แก่

  • กรณีที่เราเกิดอุบัติเหตุชนกับคู่กรณีแล้วทำให้รถและยางเสียหาย(รถชนรถ) เช่น รถคันอื่นขับมาชนเราแล้วยางแตก
  • กรณีชนแบบไม่มีคู่กรณีแล้วเกิดความเสียหายทั้งล้อแม็กและตัวยางรถยนต์ เช่น ตะปูทิ่มทะลุยางไปโดนถึงล้อแม็ก

ในส่วนนี้บริษัทประกันรถยนต์ก็จะไปเรียกความเสียหายทั้งของตัวรถและของยาง(ถ้าหากเกิดความเสียหาย) ให้กับเราครับ

โดยจะจ่ายตามสภาพจริงของยางของเรานั่นเองครับ โดยปกติแล้วก็จะจ่ายอยู่ที่ประมาณ 50% ของราคายางของเรา เนื่องจาก ยางรถยนต์ก็จะมีความเสื่อมสภาพไปตามการใช้งาน จึงต้องหักค่าเสื่อมสภาพตรงนั้นด้วย ตามหลักการของประกันว่า “ซ่อมรถให้กลับมาอยู่ในสภาพก่อนเกิดเหตุ ไม่ได้ซ่อมให้เหมือนใหม่”

แต่ก็มีกรณีที่ถ้าหากเราพึ่งเปลี่ยนยางมาสดๆร้อนๆแล้วเกิดเหตุ ส่วนนี้เราก็สามารถนำหลักฐานมาเรียกร้องความเสียหายเพิ่มได้นะครับ ซึ่งก็จะแล้วแต่พิจารณาว่าจะสามารถเบิกได้ 70% 80% หรือ 100% ก็แล้วแต่การพิจารณาของบริษัทประกันด้วยครับ

รถยางแตก เคลมได้ไหม

ประกันชั้นไหนคุ้มครองรถยางแตกบ้าง?

ซึ่งในส่วนนี้ ถ้าพูดถึง การกรณีชนแบบไม่มีคู่กรณี แล้วเสียหายทั้งล้อแม็กและยางรถยนต์ ประกันชั้นที่คุ้มครองก็คือ ประกันชั้น 1 อย่างเดียวครับ เนื่องจากอิงตามความคุ้มครองปกติเลย ถ้าเกิดเราชนแบบไม่มีคู่กรณี ก็จะมีแต่ประกันชั้น 1 ที่คุ้มครองนะครับ

แต่ถ้าเกิด การชนแบบรถชนรถ และยางเสียหาย ส่วนนี้ประกันที่จะคุ้มครองก็ต้องอีกว่าเราเป็นฝ่ายผิด หรือ ฝ่ายถูกครับ

  • ถ้าเกิดเราเป็นฝ่ายถูก ตรงนี้ไม่ว่าเราจะทำประกันชั้นไหนก็จะได้รับความคุ้มครอง เพราะความเสียหายที่เกิดขึ้นจะถูกรับผิดชอบโดยคนที่มาชนเรานั่นเองครับ
  • ส่วนถ้าเราเป็นฝ่ายผิด ก็จะมีประกันชั้น 1 2+ 3+ ที่จะคุ้มครองเราครับ เพราะตามความคุ้มครองแล้ว ถ้าเป็นประกันชั้น 2 และ 3 ก็จะไม่มีความคุ้มครองรถเรากรณีเกิดอุบัติเหตุนั่นเองครับ

หรือดูความคุ้มครองอื่นๆของประกันรถยนต์แต่ละชั้นได้ที่บทความนี้เลยครับ > เปรียบเทียบประกันรถยนต์ชั้นไหนดี แตกต่างกันยังไง ?

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นในรายละเอียดความคุ้มครองที่ผมเอามาเล่าให้ฟังในวันนี้ ก็เป็นความคุ้มครองตามหลักการส่วนใหญ่เท่านั้นนะครับ ถ้าหากใครตัดสินใจจะทำประกันและกังวลเรื่องความคุ้มครองยางจริงๆ ก็แนะนำให้สอบถามโดยตรงในเงื่อนไขความคุ้มครองยางรถยนต์ของแต่ละบริษัทประกันโดยละเอียดก่อนที่จะตัดสินใจทำนะครับ เพราะก็อาจจะมีแต่ละบริษัทที่ใจดีคุ้มครองยาง 100% ไม่ว่าจะเกิดเหตุอะไร และก็มีบริษัทที่อาจจะไม่คุ้มครองยางเลยก็เป็นไปได้ครับ เพราะอย่างที่ผมเคยบอกเสมอนะครับว่า สัญญาประกันเป็นการทำสัญญาร่วมกันสองฝ่าย ถ้าเกิดบริษัทประกันตัดความคุ้มครองส่วนไหนออกไป เราก็ควรที่จะทราบก่อนที่จะทำประกันทุกครั้งครับ

สุดท้ายนี้หวังว่าทุกคนจะได้ประโยชน์เพิ่มเติมไม่มาก็น้อยจากบทความของทาง Priceza Money นะครับ ถ้าหากมีข้อสงสัยหรือคำถามอะไรก็สามารถที่จะถามเข้ามาใน LINE : Priceza Money ได้เลยนะครับ หรือใครที่ต้องการ เปรียบเทียบประกันรถยนต์ก็เข้ามาในเว็บ Priceza Money ได้เลยเช่นกันครับบบ

เปรียบเทียบประกันภัยรถยนต์

ประกันรถยนต์

รวบรวมแผนประกัน และโปรโมชั่นจากหลากหลาย บริษัทประกันมาให้คุณเปรียบเทียบที่เดียว ไม่ต้องเข้าหลายเว็บ

อ่านบทความอื่นๆเพื่อ "ตัดสินใจเคลมประกันรถยนต์ได้อย่างคุ้มค่า"

Share:

Facebook