พรบ. รถยนต์ คืออะไร ทำไมต้องทำ? ทำที่ไหนดีที่สุด?

ต่อพรบ. รถยนต์

พรบ. ย่อมาจาก พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ครับ

โดยกฏหมายระบุไว้ว่า รถทุกๆคัน จะต้องทำ “พรบ. รถยนต์” และ “ภาษีรถยนต์” เป็นข้อบังคับที่ทุกๆคนจะต้องทำ ถ้าไม่ทำก็จะผิดกฏหมาย อาจจะโดนค่าปรับได้นั่นเองครับ

อ่านเพิ่มเติมเรื่อง : ภาษีรถยนต์

ทำไมต้องมี พรบ.?

พรบ. รถยนต์ นั้นที่ต้องบังคับให้รถทุกๆคันมีไว้ก็เพราะ เมื่อเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน จะได้มีความคุ้มครอง ทั้งค่ารักษาพยาบาลและค่าชดเชย ให้กับคนที่บาดเจ็บจากอุบัติเหตุอย่างแน่นอน ไม่ว่าคนชนจะเป็นฝ่ายผิดหรือฝ่ายถูก พรบ. ก็จะคุ้มครองเสมอ (แต่จะคุ้มครองด้วยวงเงินที่ต่างกัน)

และ พรบ. รถยนต์ กับ ประกันชั้น 1 2 3 จะเป็นคนละอย่างกันนะครับ

  • โดย พรบ. รถยนต์ จะเน้นไปที่ความคุ้มครองเฉพาะ “คน” ที่ประสบภัยจากอุบัติเหตุ
  • แต่ ประกันรถยนต์ชั้น 1 2 3 จะมีความคุ้มครองให้ทั้ง “รถ” และ  “คน” (ในวงเงินที่สูงขึ้นจาก พรบ. เผื่อ พรบ. จ่ายไม่พอ)

ต่อพรบ. ไม่ต่อประกันได้ไหม?

พรบ. รถยนต์ มีอีกชื่อที่เรียกง่ายว่า “ประกันภาคบังคับ” ซึ่งแปลว่า กฏหมายบังคับให้รถทุกคันต้องทำ

ส่วนประกันรถยนต์ชั้น 1 2 3 มีอีกชื่อว่า “ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ” ซึ่งแปลว่า สมัครใจทำก็ทำได้ หรือ ถ้าหากไม่ต้องการทำก็ไม่ทำได้เช่นกันครับ

แต่ที่คนส่วนใหญ่นิยมทำ ประกันรถยนต์ชั้น 1 2 3 ไว้ ก็เพื่อที่จะมีวงเงินสำหรับการซ่อมรถตัวเองและทรัพย์สินของผู้อื่น ถ้าหากเกิดอุบัติเหตุขึ้นนั่นเองครับ

พรบ. รถยนต์ ราคาเท่าไหร่?

สำหรับราคาของ พรบ.รถยนต์ ของรถแต่ละประเภทหลักๆ ตามนี้ครับ

  • รถยนต์ส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง (ในเล่มทะเบียนจะเขียนว่า รย.1) เช่น รถเก๋งทั่วๆไป และ รถกระบะ 4 ประตู
    • อัตราเบี้ย 600 บาท มีค่าภาษีอากร 3 บาท และเพิ่ม VAT 42.21 บาท (7%)

รวมเป็น 645.21 บาท

  • รถยนต์บรรทุก (น้ำหนักไม่เกิน 3 ตัน) เช่น รถกระบะ 2 ประตู
    • อัตราเบี้ย 900 บาท มีค่าภาษีอากร 4 บาท และเพิ่ม VAT 63.28 บาท (7%)

รวมเป็น 967.28 บาท

  • รถยนต์ส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง (แต่ไม่เกิน 15 ที่นั่ง) เช่น รถตู้
    • อัตราเบี้ย 1,100 บาท มีค่าภาษีอากร 5 บาท และเพิ่ม VAT 77.35 บาท (7%)

รวมเป็น 1,182.35 บาท

สำหรับรถประเภทอื่นๆสามารถเช็คราคาเบี้ย พรบ. รถยนต์ ของตัวเองได้ที่นี่เลยครับ > เช็คราคาพรบ.

พรบ. รถยนต์ คุ้มครองอะไรบ้าง?

ล่าสุดในปี 2565 ความคุ้มครองของ พรบ. เพิ่มจากเดิมอีกครับ

สำหรับความคุ้มครองของ พรบ. รถยนต์ จะให้ความสำคัญที่ “คน” เท่านั้นครับ โดยประกอบด้วย

  • ค่ารักษาพยาบาลกรณีบาดเจ็บ
  • ค่าชดเชยกรณีพิการหรือเสียชีวิต

รายละเอียดความคุ้มครองของพรบ. รถยนต์ จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ขั้นครับ

  • ขั้นที่ 1 คือ คุ้มครองทันทีโดยไม่สนว่าเป็นฝ่ายผิดหรือฝ่ายถูก
    • คุ้มครองค่ารักษาพยาบาล สูงสุดไม่เกิน 30,000 บาท ต่อ คน
    • คุ้มครองค่าชดเชยกรณีพิการหรือเสียชีวิต จ่ายทันที 35,000 บาท ต่อ คน

โดยถ้าหากเสียชีวิตหรือพิการหลังจากได้รับการรักษาพยาบาลแล้ว จะรวมเงินค่าชดเชยและรักษาพยาบาล ไม่เกิน 65,000 บาท ต่อ คน

  • ขั้นที่ 2 คือ ความคุ้มครองส่วนเกินค่าเสียหายเบื้องต้น (ต้องเป็นฝ่ายถูก)
    • คุ้มครองค่ารักษาพยาบาล สูงสุดไม่เกิน 80,000 บาท ต่อ คน
    • คุ้มครองค่าชดเชยกรณีพิการ จ่ายทันที 200,000 – 500,000 บาท ต่อ คน (ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการพิการ)
    • คุ้มครองค่าชดเชยกรณีเสียชีวิต จ่ายทันที 500,000 บาท ต่อ คน
    • คุ้มครอง กรณีที่เข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลในฐานะผู้ป่วยใน จะได้รับค่าชดเชยรายวัน วันละ 200 บาท จำนวนรวมกันไม่เกิน 20 วัน

โดยรวมทั้งหมดเราจะได้เงินจาก พรบ. สูงสุดไม่เกิน 504,000 บาทครับ

ทำ พรบ. รถยนต์ ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง?

แค่เรามี

  • สำเนาทะเบียนรถ

ก็สามารถที่จะใช้ต่อพรบ. ได้แล้วครับ

ทำ พรบ. รถยนต์ ล่วงหน้าได้กี่วัน?

เราสามารถซื้อพรบ. ล่วงหน้าได้ “ไม่เกิน 90 วัน” ครับ

ทำ พรบ. รถยนต์ ที่ไหนดี?

ในปัจจุบันช่องทางการต่อ พรบ. มีหลากหลายมากครับ

และเนื่องจากราคาของแต่ละช่องทางไม่ได้ต่างกันมาก (บางช่องทางอาจจะใส่ส่วนลดเข้าไปหลัก 40-50 บาท) ผมจึงอยากแนะนำตามความสะดวกสบาย เป็น 2 กรณีดังนี้ครับ

  • กรณีที่ทำประกันชั้น 1 2 3 อยู่แล้ว

กรณีที่ทุกๆคนมีการทำประกันภาคสมัครใจ หรือ ประกันชั้น 1 2 3 อยู่แล้ว เพื่อความสะดวกทั้งในการซื้อพรบ. และในการคุ้มครองกรณีเกิดอุบัติเหตุแล้วต้องเบิก แนะนำให้ ทำ พรบ. ที่บริษัทประกันเดียวกันกับที่เราทำประกันชั้น 1 2 3 ได้เลยครับ เราซื้อประกันชั้น 1 2 3 กับใคร ก็สามารถซื้อ พรบ. กับคนนั้นๆได้เลย เช่นกันครับ

  • กรณีที่ต้องการทำ พรบ. อย่างเดียว

ในปัจจุบันมีหลากหลายช่องทางให้เลือกต่อ พรบ. ทั้งช่องทางออนไลน์ และ ตามสถานที่ใกล้บ้าน

    • โดยสำหรับช่องทางออนไลน์ เพียงคุณเสิชกูเกิ้ลว่า “ต่อ พรบ.” ก็จะมีผู้ขายให้เลือกมากมายทั้งบริษัทประกัน และ นายหน้าขายประกัน สามารถเลือกต่อได้เลยแล้วแต่ความสบายใจ
    • แต่ถ้าหากใครไม่ถนัดการต่อ พรบ. รถยนต์ แบบออนไลน์ ก็สามารถที่จะไปต่อตามสถานที่ที่สะดวก ดังต่อไปนี้ได้เลย
      • ที่ทำการไปรษณีย์
      • ธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
      • จุดบริการเคาน์เตอร์เซอร์วิสทั่วประเทศ (7-Eleven)

Priceza Money แนะนำช่องทางทำพรบ. กับพันธมิตรของเราที่เว็บ Gettgo มีส่วนลดให้ด้วย แค่ใส่โค้ด ‘15PZCMI’ 

พรบ. รถยนต์ ขาด ทำไงดี?

ถ้าหาก พรบ. ขาด และไม่ได้ต่ออายุ หากต้องการที่จะต่อใหม่ จะไม่ต้องเสียค่าปรับใดๆ (แต่ถ้าขาดเกิน 3 ปี อาจจะทำให้โดนระงับทะเบียนได้)

แต่ในกรณีที่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรเรียกตรวจ และ ไม่มี พรบ. อาจจะต้องเสียค่าปรับสูงสุดถึง 10,000 บาทตามกฏหมาย

และถ้าหาก พรบ. ขาด นั่นหมายถึง เราจะไม่สามารถต่อภาษีรถยนต์ได้ ซึ่งการขาดต่อภาษีรถยนต์จะต้องเสียค่าปรับเดือนละ 1% จากค่าภาษีที่ต้องจ่ายครับ และ ถ้าหากขาดต่อพรบ. และ ภาษีเกิน 3 ปี ก็จะต้องดำเนินการขอทะเบียนใหม่ด้วยนั่นเองครับ

นอกจากนี้ ถ้าหากรถของเรา พรบ. ขาดต่อและเกิดอุบัติเหตุขึ้น เราก็ต้องเป็นฝ่ายที่รับผิดชอบค่าเสียหายทั้งค่ารักษาพยาบาลและค่าชดเชยกรณีพิการหรือเสียชีวิต สูงสุดไม่เกิน 35,000 บาทด้วยเช่นกันครับ

เพราะฉะนั้นรีบไปต่อ พรบ. กันได้แล้วนะครับ ^^

และหากใครต้องการเปรียบเทียบประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ หรือ ประกันรถยนต์ชั้น 1 2 3 ก็สามารถเข้าไปเช็คราคาของรุ่นรถตัวเองได้ที่ Priceza Money นะครับ

เปรียบเทียบประกันภัยรถยนต์

ประกันรถยนต์

รวบรวมแผนประกัน และโปรโมชั่นจากหลากหลาย บริษัทประกันมาให้คุณเปรียบเทียบที่เดียว ไม่ต้องเข้าหลายเว็บ
เปรียบเทียบประกันรถยนต์ชั้น 1

อ่านบทความอื่นๆ

Share:

Facebook